วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไผ่สร้างอาชีพ

       ไผ่บงหวานเมืองเลย เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สำคัญอีกชนิดที่น่าให้ความสนใจและจับตามองในวันนี้ด้วยรสชาติที่ผู้คนกำลังนิยมรับประทานและเป็นที่ต้องการของตลาด ลักษณะพิเศษของไผ่ชนิดนี้จะออกหน่อดกมาก มีความหอมกรุ่น เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยน หวานมัน กรอบ อร่อยคล้ายยอดมะพร้าว รับประทานสดได้ ไม่มีขื่นเหมือนไผ่ชนิดอื่นๆ ประโยชน์ของไผ่บงหวานมีหลายอย่างเช่น ทางโภชนาการใช้ประกอบเป็นอาหารได้ทั้งประเภท แกง ผัด ต้ม ลำ ใช้ประโยชน์ในการทำเป็นเครื่องจักสาน ใช้สอยในครัวเรือน ใช้ ทำเป็นทีพักอาศัย เถียงไร่ เถียงนา ทำเป็นค้างในแปลงผัก หน่อนำมารับประทานได้ อีกทั้งให้ความร่มเงา ลดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย


      ไผ่บงหวาน มีชื่อพื้นเมืองว่า ไผ่หวาน หรือ ไผ่บงหวาน ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Bambusa Sp. ชื่อวงศ์ Gramineaeพบมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเลย จะพบไผ่หวานที่จัดว่ามีคุณภาพดีที่สุด เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลางลักษณะกอหุ้มแน่น ลำต้นมักคดงอ เนื้อในตันไม่กลวงแตกกิ่งประมาณ 2-5 กิ่งตลอดลำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5ซม. สูงประมาณ 5-7 เมตรหน่อของไผ่หวานมีลักษณะเล็ก หน่อมีสีเขียวหนักประมาณ 200-300กรัม
 
       สวน ไผ่บงหวานคุณราตรี ได้ผลิตกล้า พันธุ์ไผ่บงหวาน ออกจำหน่าย ให้กับผู้สนใจ ปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ หรือปลูกแบบพอเพียงเพื่อบริโภคในครัวเรือน ทางสวนมุ่งหวังจะรักษาสายพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น และกระจายสายพันธุ์ไปทั่วทุกภูมิภาค โดยส่งเสริมแก่ผู้สนใจนำไปปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต สร้างรายได้อย่างมั่นคง ได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วไปเป็นอย่างมากในขณะนี้ และ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนที่สุดทางสวนจึงใช้วิธี ขุดเพาะชำเหง้าแยกจากต้นแม่ที่ปลูกด้วยเมล็ดอายุเพียง 4 ปี เนื่องจากวิธีนี้ ไผ่บงหวานจะโต และออกหน่อได้เร็วกว่าวิธีการปลูกด้วยเมล็ดเป็นปีเลยทีเดียว มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน 50-60 ปี การรู้อายุต้นแม่ที่แน่นอนจะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงานได้มาก
      การปลูกไผ่บงหวาน
      ฤดูที่เหมาะสม ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม แต่หากมีระบบน้ำที่ดีและเพียงพอ ไผ่บงหวาน สามารถปลูกได้ทั้งปี การเตรียมพื้นที่หากมีต้นไม้โตควรตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ ถ้าได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง เริ่มโดยการไถดะ ไถพรวน ตากดินไว้สัก 7- 10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อ แล้วขุดหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมขึ้นอยู่กับเกษตรกรต้องการดังนี้
             2 x 2 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 400 ต้นต่อไร่
             2.5 x 2.5 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 289 ต้นต่อไร่
            
3 x 3 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 169 ต้นต่อไร่ (แนะนำระยะนี้เหมาะสมที่สุด)             3.5 x 3.5 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 131 ต้นต่อไร่
             4 x 4 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 100 ต้นต่อไร่
             5 x 5 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 64 ต้นต่อไร่
      วิธีการปลูก รองก้นหลุมด้วยดินที่ขุดขึ้นมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วนำกล้า พันธุ์ไผ่ ลงวาง ฉีกถุงพลาสติกออก กลบดินจนพูนเมื่อดินยุบตัวแล้วจะเสมอกับพื้นที่ปลูกพอดี
      การขยายพันธุ์

     ไผ่บงหวาน สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ ส่วนวิธีที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ และรูปแบบของการเจริญเติบโต สำหรับวิธีการขยาย พันธุ์ไผ่ ที่นิยมทำกันโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 5 วิธี คือ
         1. การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีวิธีการโดยการจัดเก็บเมล็ดไผ่แก่ที่ร่วงหล่นสู่พื้นดินซึ่งสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นเมล็ดแก่ที่แท้จริงนำไปเพาะโดยการหว่านลงในกระบะเพาะหรือแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้แล้วรดน้ำทุกวัน ประมาณ7-10วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ประมาณ 3-4สัปดาห์ย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกขนาด 4”X9” ที่เตรียมดินใส่ไว้รดน้ำทุก2-3วัน ประมาณ2เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้
          2. การขยายพันธุ์โดยแยกกอหรือเหง้า วิธีนี้ใช้ได้ผลกับไผ่ทุกชนิด โดยเฉพาะไผ่ที่มีโคนลำค่อนข้างหนา เช่น ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่หางช้าง อายุของเหง้าที่สามารถผลิตหน่อใหม่ได้ดีคือ เหง้าที่มีอายุ 1 - 2 ปี เนื่องจากตาของเหง้าที่มีอายุมากกว่านี้มักอ่อนแอไม่แข็งแรง การตัดควรตัดให้ตอสูงประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ทำการขุดเหง้าออกจากกอแม่เดิมโดยระวังอย่าให้ตาที่เหง้าเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อใหม่ต่อไป วิธีนี้ให้หน่อที่แข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ ทั้งยังเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ต้นตรงตามสายพันธุ์เดิมมากที่สุด
          3. การขยายพันธุ์โดยการใช้ปล้อง กิ่งตัดหรือใช้ลำ การขยายพันธุ์วิธีนี้นิยมใช้กับไม้ไผ่ชนิดที่ไม่ค่อยออกเมล็ด และเป็นไม้ไผ่ที่มีลำค่อนข้างใหญ่ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่เหลือง ไผ่ป่า ไผ่ซางดำ เป็นต้น โดยทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี เมื่อได้ลำที่ต้องการแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1-2 ข้อ ดังวิธีต่อไปนี้
        ท่อนที่ใช้ 1 ข้อ จะตัดตรงกลางไม้ไผ่ให้ข้ออยู่ตรงกลาง ตัดให้ห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ ให้ตาหงายขึ้น โดยระวังอย่าให้ตาเป็นอันตราย การชำควรให้ข้ออยู่ระดับดิน แล้วใส่น้ำลงในปล้องที่เหลือเหนือดินหรือวัสดุเพาะชำให้เต็ม
        ท่อนที่ใช้ 2 ข้อ เมื่อทำการตัดให้มี 2 ข้อ แล้วเจาะรูตรงกึ่งกลางปล้องเพื่อหล่อน้ำ ทำการริดกิ่งที่ข้อโดยตัดออกให้เหลือเพียง 2 - 3 นิ้ว ระวังอย่าให้ตาที่ข้อปล้องแตกหัก นำไปวางในแปลงชำ โดยฝังลงดินหรือวัสดุเพาะชำประมาณครึ่งของลำ หรือใช้ดินกลบข้อให้มิด เหลือไว้เฉพาะที่น้ำหล่อเท่านั้น
        การเพาะชำโดยวิธีการใช้ลำ สามารถชำในแปลงเพาะ ควรทำการปรับหน้าดินในกรณีที่เป็นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่ถ้าพื้นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อมีการระบายน้ำดี หลังจากนั้นจึงทำการย่อยดิน ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ทำหลังคาทางมะพร้าวหรือบังแดด เมื่อชำเสร็จแล้วควรรดน้ำให้ชุ่มทันที หมั่นดูแลรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน หลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะพบหน่อและรากแตกออกมา ประมาณ 1-2 เดือน จึงทำการเลื่อยลำเก่าออก แล้วจึงย้ายถุงพลาสติกขนาดประมาณ 5 x 8 นิ้ว เพื่อให้สะดวกในการขนย้ายปลูก เมื่อต้นกล้าเจริญเต็มที่จึงค่อยๆ เปิดหลังคาที่คลุมไว้ออก จนกระทั่งสามารถเจริญได้ดีในที่กลางแจ้ง หลังจากนั้นประมาณ 6-8 เดือน กล้าไม้จะแกร่งเต็มที่ จึงทำการย้ายปลูกได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังไม่ค่อยนิยามากนัก เพราะใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีใช้กิ่งแขนง และต้องตัดลำอายุ 1 ปี ซึ่งเป็นลำแม่ที่ควรเลี้ยงเอาไว้ เพื่อให้หน่อใหม่ในปีถัดไป นอกจากนั้นยังนิยมเก็บลำไว้ขายเพื่อประโยชน์อย่างอื่นด้วย

          4. การขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง กิ่งแขนง คือกิ่งที่แตกจากตาบริเวณข้อต่อของลำ การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเพราะสะดวกรวดเร็วและสามารถตัดชำกิ่งแขนงได้มาก ความสำเร็จในการปักชำโดยใช้กิ่งแขนงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ไผ่ หากเป็นไม้ไผ่ที่มีรากอากาศบริเวณโคนกิ่ง เช่น ไผ่ตง จะมีความสำเร็จสูง ใช้กับไผ่บงหวานไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก และยังขึ้นอยู่กับการเลือกกิ่งแขนง คือ ปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ไปจนถึงได้ ก่อนทำการย้ายปลูกควรนำกล้าไม้ออกวางกลางแจ้งเป็นเวลา 1-2 เดือน เพื่อให้กล้าแกร่งเต็มที่ โดยปกติชาวสวนไผ่ตงมักทำการชำกิ่งแขนงในปลายฤดูฝนแล้วปลูกในต้นฤดูฝนปีถัดไป ซึ่งจะให้เวลาประมาณ 8 เดือน วิธีนี้ทำให้ได้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงและเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง

           5. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่มีวัตถุประสงค์ในการผลิตกล้าไผ่จำนวนมากในระยะเวลาสั้น โดยมุ่งเน้นในการขยายพันธุ์ไม้ไผ่ที่ผลิตเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่สามารถผลิตเมล็ดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ตง และ ไผ่เลี้ยง อย่างไรก็ดีมีผู้ศึกษาการเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่ไว้หลายชนิด โดยเลี้ยงส่วนของคัพภะ ส่วนของใบอ่อนและส่วนของกิ่งอ่อนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าไม้ไผ่เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ หลังจากที่ได้กล้าไผ่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วสามารถปฏิบัติต่อกล้าเช่นเดียวกับกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีขนาดใกล้เคียงกัน
           
           การบำรุงดูแลรักษา การบำรุงรักษาให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
           1 . การให้น้ำ ปกติจะปลูกไผ่กันในฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะประหยัดน้ำได้มาก อาจจะไม่ต้องให้น้ำเลยก็ได้ นอกจากฝนเกิดทิ้งช่วงนานๆ จึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนานๆ เพราะไผ่ในปีแรกนี้ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจตายได้โดยง่าย หลังจากอายุเกิน 1 ปี ไปแล้ว ต้นไผ่จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
           2. การใส่ปุ๋ย ในช่วงปีแรก ไผ่สามารถใช้ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้พอ ในระยะปีต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการไถพรวนและใส่ปุ๋ย ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีพอเพียง แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเร่งทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดฤดูกาล หลังจากเก็บหน่อขายบ้างแล้ว จะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก
          การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 4-6 กิโลกรัมต่อกอ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ผสมกับปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา 2ต่อ1 ใส่ปุ๋ยเคมีที่ผสมแล้ว4-6 กำมือต่อกอ รวมกับปุ๋ยคอก จะเร่งการออกหน่อ และหน่อมีคุณภาพดี เวลาใส่ปุ๋ยเคมีระวังอย่าให้โดนหน่อจะทำให้เน่าได้ ไผ่บงหวานจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ไผ่ทรุดโทรมเร็ว
           3. การตัดแต่งกอและการไว้ลำ ไผ่บงหวาน เมื่อปลูกได้ประมาณ 1 ปี จะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 8-10 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอในช่วงนี้จะทำการตัดกิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะทิ้งไปเท่านั้น
          เมื่ออายุ 2 ปี จะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 12-16 หน่อ ในปีนี้จะเริ่มตัดแต่งลำต้นที่เบียดชิดแน่น และคดงอรวมทั้งกิ่งแขนงเล็กๆออก หน่อที่ขึ้นมาเบียดชิดกันก็ตัดออกเช่นเดียวกัน หน่อที่เหลือปล่อยให้เป็นลำต่อไป เพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นปีที่ 2 จะตัดแต่งให้เหลือเพียง 6-8 ลำต่อกอ หน่อที่ขึ้นมาหลังจากนี้ก็ตัดไปรับประทานหรือขายต่อไป
         
         ไผ่บงหวาน เมื่ออายุ 2 ปี ก็มีหน่อพอที่จะตัดขายได้ ในการตัดหน่อนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมจะทำให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ 

           การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปีหลังการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตชั่วคราว การตัดแต่งกอหรือที่ชาวบ้างเรียกกันว่า ล้างกอไผ่ นั้นจะตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและมีแมลง ลำที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ และลำที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปออก ตัดให้เหลือลำแม่ดีๆไว้ประมาณ 6-8 ลำต่อกอ ลำที่เหลือไว้นี้จะเป็นลำแม่ที่ค้ำจุนและบังลมให้ลำที่เพิ่งแตกใหม่ ลำที่ตัดออกนี้ให้ตัดติดดินหรือเหลืออยู่เหนือพื้นดินประมาณ 5 เซนติเมตร ไม่ให้เปลืองอาหารที่จะต้องส่งไปเลี้ยงลำพวกนี้อีก เพราะลำแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจะแก่และแตกหน่อได้น้อย               4 . การบังคับให้เกิดหน่อมากขึ้นในการบังคับให้ ไผ่บงหวาน แทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว การไถพรวนแปลง ไผ่บงหวานทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการไถพรวนในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการไถพรวนการให้น้ำใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี อย่างถูกต้อง จะทำให้ไผ่บงหวานออกหน่อเร็วและดก การทำให้ไผ่บงหวานออกหน่อได้ทั้งปี ทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น



ประโยชน์จากไม้ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่









   ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์  อุตสาหกรรมประมง  อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ซึ่งแค่ในส่วนของการตัดลำไผ่เพื่อจำหน่ายในอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็มีปริมาณมากกว่า 30,000 ตัน/ปี หรือประมาณ 2,500,000 ลำ คิดเป็นรายได้สู่ชาวสวนไผ่มากกว่า 10,000,000 บาท ซึ่งไผ่เหล่านี้นำไปใช้ในรูปแบบใดบ้าง ทางเคหการเกษตรขอนำเสนอภาพรวมในบางส่วนก่อนลงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไผ่ให้ท่านผู้อ่านทราบต่อไป
ไผ่กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
        ปัจจุบันมีการนำไผ่มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์มาก มาย ทั้งในรูปของตกแต่งบ้าน ชุดโตีะเก้าอี้ เตียงนอน ฯลฯ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยมากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
     

 
ไผ่กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง
      ในต่างประเทศมีการนำไผ่มาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมากมายทั้งนำมาเพื่อการสร้างบ้านเรือน สร้างสะพาน สร้างเรือ ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีหลายสถานที่ที่เริ่มสร้างบ้านจากไม้ไผ่ ดังเช่น หลายรีสอร์ทในประเทศที่มีการสร้างบ้านและสถานที่พักผ่อนจากไผ่ ฯลฯ
 

  
 
ไผ่กับอุตสาหกรรมประมงและไม้ค้ำยัน
    ใน 1 ปีมาการตัดลำไผ่เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมงมากมาย ทั้งการนำมาปักเพื่อเลี้ยงหอย เพื่อเป็นไม้กันคลื่นเซาะฝั่ง อีกทั้งยังเป็นไม้ค้ำยันในการก่อสร้าง ในสวนไม้ผล ซึ่งพันธุ์ไผ่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ในแต่ละปีใช้มากกว่า 10,000 ตัน
 
ไผ่กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ
          ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ชินใหญ่ ๆ เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้จากไผ่ ไผ่ยังถือเป็นส่วนประกอบเล้ก ๆ ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ การนำไผ่มาตกแต่งบ้านในลักษณะเป็นไม้ปูพื้น นำมาตกแต่งอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ต่าง ๆ ใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบในการผลิตข้าวหลาม รวมถึงนำมาแปรรูปเป็นอาหาร เป็นต้น






                            


                           
                               




                    



มะละกอสร้างชาติ

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอ

วันนี้เรามีอีกหนึ่งสรรพคุณของมะละกอและประโยชน์ของมะละกอมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกคนผู้รักสุขภาพได้ฟังกัน หรือใครก็ตามที่ชอบนึกยี้ผลไม้อย่างมะละกอล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึง สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ และ สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ ที่เรานำมาบอกกันในวันนี้นั่นก็คือ ผลไม้อย่างมะละกอสุกนั่นเองค่ะ หากเป็นมะละดิบอย่างส้มตำหลาย ๆ คนคงจะไม่ค่อยปฏิเสธแต่หากเป็นเป็นมะละกอสุกหลายคนบ่นร้องยี้ซะงั้น นั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนใจหันมารับประทานมะละกอสุขภันมากขึ้นก็มาดู สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ กันเลยค่ะ




สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว

เป็นไงละคะ คำโฆษณาพอจะชวนเชื่อให้คุณหันมาชอบมะละกอกันได้บ้างหรือยัง




27 สิงหาคม, 2009

ประโยชน์ของมะละกอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์จากมะละกอ (Papaya)

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง

 
 
 
มะละกอผักผลยอดนิยม สารพัดประโยชน์

เราอาจจัดมะละกออยู่ในจำพวกผักที่เรียกว่า “ผักผล” (Fruit Vegetables) เพราะใช้ผลมาประกอบอาหาร(คาว) เป็นหลัก แม้จะใช้ส่วนอื่นๆ (เช่น ใบ ยอด) เป็นด้วยผักได้ด้วย แต่ใช้น้อยกว่าผลมาก ผักจำพวก “ผักผล” นี้มีหลายชนิด เช่น มะเขือ แตงกวา ฟังทอง เป็นต้น ในบรรดาผัดที่มีอยู่มากมายหลายชนิดนั้น มะละกอนับได้ว่าเป็นผักผลที่ได้รับความนิยมสูงและมีประโยชน์ในด้านต่างๆ กว้างขวางกว่าผักผลชนิดอื่นๆ แทบทุกชนิด จึงคงไม่ผิดความจริงหากเราจะเรียกมะละกอว่าเป็นผักผลยอดนิยมสารพัด ประโยชน์ของชาวไทย

รากเหง้าพื้นเพดั้งเดิมของมะละกอ : “ฉันมาไกล ” เหมือนกัน

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึง กระถินว่าเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาแสนไกล จนอาจกล่าวได้เต็มปากว่า “ฉันมาไกล” เพราะมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาซึ่งอยู่คนละฟากโลก ประโยคดังกล่าวอาจนำมาใช้กับมะละกอได้เช่นเดียวกัน เพราะมะละกอมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิม อยู่ในทวีปอเมริกาแถบร้อน ก่อนที่จะถูกนำไปปลูกในประเทศต่างๆ ที่มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกันทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่า มะละกอถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกหลายน้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มติดต่อค้าขายกับชาวยุโรปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากนั้นจึงกระจายไปปลูกในทุกภาคของประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของพืชผักพื้นบ้านและส่วนประกอบของตำรับอาหารไทยหลายชนิด โดยเฉพาะตำรับอาหาร “ยอดนิยม” อย่างส้มตำเป็น
มะละกอเป็นชื่อที่เรียกในบริเวณภาคกลาง ส่วนในภาคอื่นๆ ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียก “มะก้วยเทศ” ภาคอีสานเรียก “หมักหุง” และภาคใต้ (ยะลา) เรียก “แตงต้น” เป็นต้น ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า papaya หรือ melontree (ซึ่งแปลว่า แตงต้น เหมือนชื่อของภาคใต้)
สำหรับชื่อทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอ คือ carica papaya Linn. มีลักษณะโดยทั่วไป คือ เป็นพืชยืนต้นเนื้ออ่อน ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 3-4 เมตร ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ขอบใบหยักเว้าลึก ก้านใบกลมยาว กลวง ยาวประมาณ 1 เมตร ใบ ดอก และผล รวมอยู่เฉพาะส่วนบนยอดสุดของลำต้น ดอกมีสีขาวครีมแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และตอกกระเทย
ผลมีหลายขนาดและรูปทรงตั้งแต่กลม รี และยาว ขนาดของผล มีตั้งแต่ไม่ถึง 100 กรัม ถึงหลายกิโลกรัมต่อผล
เปลือกผลดิบมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงแสดเมื่อสุก เนื้อในผลเมื่อดิบมีสีขาวเมื่อสุกมีสีเหลืองถึงแสดแดง
เมล็ดเมื่อยังอ่อนมีสีขาว และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่เต็มที่
ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว (Latex) โดยเฉพาะผลดิบมียางมากเป็นพิเศษ มะละกอทนความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร แต่ทนน้ำท่วมและความชื้นแฉะไม่ได้

มะละกอในฐานะผักพื้นบ้าน

มะละกอถูกนำมาใช้บริโภคเป็นผักได้หลายส่วนด้วยกัน เช่น ผล(ดิบ) ยอด ใบ และลำต้น ส่วนที่ใช้มากที่สุด คือ ผลดิบ ซึ่งอาจใช้บริโภคดิบก็ได้ เช่น นำมาปรุงตำส้มที่ชาวไทยรู้จักดี หรือนำมาทำให้สุกเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นต้ม (หรือต้มกะทิ) เป็นผักจิ้ม แกงส้ม ต้มกับเนื้อ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำเนื้อมะละกอดิบมาดองกับน้ำส้มเป็นผักดอง หรือนำเนื้อมะละกอมาดองเกลือ ตากแห้ง เป็นตังฉ่าย ใช้ปรุงอาหารจีนก็ได้
ยอดอ่อนและใบมะละกอก็นำมาใช้ปรุงอาหารเป็นผักได้เช่นเดียวกันแต่ในเมืองไทยยังไม่นิยมกัน อาจจะเป็นเพราะรังเกียจความขมหรือยางในใบและยอด แต่ในหลายประเทศนิยมกันมาก เช่น บนเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ข้อดีประการหนึ่งของการนำใบและยอด มะละกอมาบริโภคเป็นผัก ก็คือ มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ จึงอยากขอฝากให้ชาวไทยที่มีฝีมือในการปรุงอาหารช่วยนำใบและยอดมะละกอมาทดลองประกอบอาหารให้ มีรสชาติที่คนไทยยอมรับเป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยในอนาคตมาก
ในส่วนลำต้นมะละกอนั้นเมื่อปอกเปลือกด้านนอกออกจะได้เนื้อภายในที่มีสีขาวครีมและค่อนข้างอ่อนนุ่ม คล้านเนื้อผักกาดหัวจีน (ไชเท้า) จึงสามารถนำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับผักกาดหัว โดยเฉพาะนำมาดองเค็ม ตากแห้ง เหมือนหัวผักกาดเค็ม (ไชโป๊) มะละกอนับเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง เช่น เนื้อในผลซึ่งแม้คุณค่าจะด้อยกว่าใบและยอด แต่ก็นับว่าสูงโดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม เป็นต้น

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะละกอ

ในต่างประเทศประชาชนส่วนใหญ่รู้จักมะละกอในฐานะผักเพราะมะละกอสุกเป็นผลไม้ที่ดีมากชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมกินกันทั่วโลกไม่เฉพาะในเขตร้อนที่ปลูกมะละกอได้เท่านั้น แต่ยังนำเข้าไปในประเทศเขตอบอุ่นที่ปลูกมะละกอไม่ได้อีกด้วย มะละกอสุกสามารถกินสด บรรจุกระป๋อง นำไปทำแยม และทำน้ำผลไม้ได้ดี มีรสอร่อย สีสวยน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการสูง มีคุณค่าทางสมุนไพร มีผลให้กินตลอดปี ผลิตได้ง่าย ราคาไม่แพง ฯลฯ มะละกอมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมผลิตเอนไซม์ปาเปอีน (papain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารหมัก ทำให้เนท้อเปื่อยนุ่ม ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
เอนไซม์ปาเปอีนได้จากยางมะละกอ ซึ่งกรีดแผลบนผลมะละกอดิบแล้วปล่อยให้แห้ง นำยางมะละกอแห้งมาสกัดเอนไซม์ปาเปอีน และเอนไซม์อื่นๆ บางชนิด ยางมะละกอนี้แม่บ้านชาวไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์นานแล้ว เช่น ใช้หมักเนื้อให้อ่อนนุ่ม ใส่ในต้มแกงให้เนื้อเปื่อยยุ่ย เป็นต้น
มะละกอมีคุณค่าด้านสมุนไพรมากมายแทบทุกส่วนของพืชชนิดนี้ เช่น
  • ยาง แก้ปวดฟัน ถ่ายพยาธิไส้เดือน กัดหูด ใช้ลบรอยฝ้าบนใบหน้า
  • ราก ต้มกินขับปัสสาวะ
  • เมล็ดแก่ ถ่ายพยาธิ แก้กระหายน้ำ
  • ใบ บำรุงหัวใจ
  • ผลดิบ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ
  • ผลสุก บำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ
ในสมัยก่อนหมอดูมักใช้กระดานหมอดู ที่ทำจากเปลือกมะละกอโดยการทุบเปลือกแยกเนื้อออกจนหมด เหลือแต่เส้นใยแล้วลงรักและเขม่าจนแข็งดำ ตากให้แห้ง ก็จะได้แผ่นกระดานดำที่เบาและทนทานมาก
ตำราการปลูกต้นไม้ในบ้านบางฉบับมีข้อห้ามมิให้ปลูกมะละกอในบริเวณบ้านเพราะถือตามเสียง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับคำที่ว่า อัปมงคล คือ มะละกอ มีคำว่า “มะละ” พ้องกับบคำว่า “มร” (มะระ) ซึ่งแปลว่า ตาย จึงถือว่าเป็นอัปมงคล(คล้ายลั่นทมที่คล้ายคำว่า “ระทม”) แต่เท่าที่สังเกตดูทั่วไปในปัจจุบันพบว่า ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ถือตามตำราฉบับนี้ จึงปลูกมะละกอในบริเวณบ้านกันทั่วไป
แม้แต่ในสมุดคู่มือว่าด้วยการทำสวนครัวที่พิมพ์แจกเมื่อปี พ.ศ.2482 ในช่วงจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และรณรงค์ให้ชาวไทยทำสวนครัวกันอย่างจริงจังในสมุดคู่มือเล่นนั้นแนะนำให้ปลูกมะละกอเอาไว้ในบริเวณบ้าน โดยย่กย้องมะละกอว่า “เป็นอาหารอย่างดี หาที่เปรียบได้ยาก” คำยกย่องนั้นยังคงใช้ได้อยู่จนกระทั่งวันนี้
หากท่านผู้อ่านเห็นคุณประโยชน์ของมะละกอ ก็ขอให้ช่วยกันปลูกตามกำลังที่จะทำได้ ถ้าปลูกไม่ได้ก็อาจช่วยโดยการหาซื้อมะละกอมาบริโภคให้มากขึ้น เพื่อเกษตรกรไทยจะมีรายได้จากมะละกอเพิ่มขึ้นอีกด้วย






 

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาสารพัดประโยชน์


วิธีทำน้ำยาล้างจาน

อุปกรณ์และวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ
วิธีทำ
เทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด
N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES
ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)
 จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร
*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก
หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้





   ำยาซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ สูตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ราคาถูกมากๆ
        คุณ
เคยคำนวณบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละเดือนครอบครัวของเราจ่ายเงินไปเท่าไรในการซื้อผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ หรือน้ำยาทำความสะอาดสารพัดล้าง แล้วสินค้าที่เราซื้อมาใช้นั้นดีจริงอย่างที่เขาโฆษณาหรือเปล่า วันนี้เรามาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเองกันเถอะ มาทำผลิตภัณฑ์ดีๆ ราคาถูกมากๆใช้เองดีกว่า จะขอเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "น้ำยาอเนกประสงค์ สูตร 2 พลัง" ซึ่งใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก และมีพลังขจัดคราบมากเป็น 2 เท่า คือ ทั้งจากสารขจัดคราบ และ จากกรดในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้
  ส่วนผสม    1. EMAL 270 TH หรือ N 70 (หัวแชมพู)                           1     กก.
                  2. EMAL 10 P (ผงฟอง)                                           200    กรัม
                  3. Sodium chloride (ผงข้น)                                      500     กรัม
                  4. น้ำสะอาด                                                       10-11    กก.
                  5. NEOPELEX  F 50(สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)          500-700    กรัม
                      (ถ้าใช้สารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEX  F 24 ใช้        1    กก.)
                  6.น้ำหมักชีวภาพ(สูตรเนื้อมะกรูด)                                        2    กก.
                     (หรือจะใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทดแทนกันได้ เช่น สับปะรด มะเฟือง มะนาว ฯลฯ ดูข้อมูลการทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มเติมได้ในเรื่องผลไม้ลดโลกร้อน)
                  7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้)   

         วิธีทำ  
            1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกก้นเรียบใบใหญ่ๆในการผสม) 
            2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(ประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย
            3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดทีละน้อยๆพร้อมกับคนส่วนผสมให้ละลายเข้ากันไปเรื่อยๆ (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)            
            4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน  
            5. ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน(ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป
เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาได้นานเป็นปี โดยไม่เสียง่าย)
               
ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพมะกรูดที่หมักจนได้ที่แล้ว แต่ต้องการรีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้มแทนก็ได้  
ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวให้ท่วมเนื้อมะกรูด นำไปต้มจนเนื้อมะกรูดเปื่อยดี
แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ แต่การใช้น้ำมะกรูดต้มนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บได้นานประมาณ  1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้ 

            6.ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่
น้ำหอมเลย)
            7.ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(1 คืน)จึงกรอกใสภาชนะเก็บไว้ใช้

หมายเหตุ
 
       ความจริงแล้วน้ำยาทำความสะอาดต่างๆที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆไปนั้น มี ส่วนผสม สูตร และวิธีทำคล้ายๆกัน อาจมีข้อแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น ชื่อของหัวแชมพู ชื่อของสารขจัดคราบ ปริมาณของส่วนผสม เพียงแต่น้ำยาฯ ที่ผลิตขายกันทั่วไปตามท้องตลาดนั้น จะใส่สีและกลิ่นให้ต่างกันออกไป จึงเรียกเป็นน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ ฯลฯ  ผู้ใช้จึงคิดว่าน้ำยาแต่ละชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดต่างกันด้วย และน้ำยาต่างๆที่ขายทั่วไปนั้น จะไม่มีส่วนผสมของสารชีวภาพแต่ใส่สีและกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ(ดูได้จากโฆษณา น้ำยา...กลิ่นมะกรูด กลิ่นมะนาว กลิ่นสตรอเบอรี่) 
       

      น้ำยาอเนกประสงค์สูตรที่ให้ไปนี้ สูตรเดียวสามารถใช้ได้ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ  ทำความสะอาดพื้น ขอแนะนำว่าน้ำยาอเนกประสงค์ที่เราทำใช้เองไม่จำเป็นต้องใส่สีเลย(ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้สารเคมี) และการทำน้ำยาสำหรับล้างจานไม่ควรใส่กลิ่น (ลดปริมาณสารเคมีตกค้าง) การทำน้ำยาซักผ้า อาจเลือกใช้กลิ่นที่ชอบและใส่เท่าที่คิดว่าหอมเพียงพอแล้ว  ส่วนการทำน้ำยาล้างรถ น้ำยาทำความสะอาดพื้น จะใส่กลิ่นหรือไม่ก็ได้  น้ำหอมแต่ละกลิ่นก็มีราคาถูก-แพงแตกต่างกัน (หรือจะทำสูตรเดียวโดยไม่ต้องใส่น้ำหอมเลย แล้วใช้ทุกอย่างก็ได้)   สำหรับการขจัดคราบที่สกปรกมาก อาจใส่สารขจัดคราบและน้ำหมักชีวภาพเพิ่มได้อีก แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะกัดมือ   และถ้าใส่น้ำหมักชีวภาพแล้วไม่จำเป็นต้องใส่สารกันเสีย เพราะน้ำหมักชีวภาพจะช่วยกันเสียได้ ตามสูตรนี้เมื่อผสมเสร็จแล้วจะได้น้ำยาประมาณค่อนถังสีพลาสติกใบใหญ่ ครอบครัวเล็กๆใช้ไปได้หลายเดือนเลย
การใช้น้ำยาอเนกประสงค์สูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับการซักผ้า
     
เพียงใส่น้ำยาฯลงในน้ำสะอาด(ปริมาณใกล้เคียงกับการใช้น้ำยาซักผ้าทั่วๆไป) แล้วผสมน้ำยาฯให้ละลายเข้ากันกับน้ำ นำผ้าลงแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที   จากนั้นก็ซักเหมือนกับการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไป แต่การซักผ้าด้วยน้ำยาอเนกประสงค์สูตรชีวภาพนี้ มีข้อดีกว่าการซักผ้าด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วๆไปหลายประการ ดังนี้(ได้พิสูจน์มาแล้วทั้งด้วยตัวครูป้าเองและคนรอบข้าง)   1. ราคาถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า และทำได้เองในครัวเรือน
   2. ใช้ง่ายกว่าผงซักฟอก เพราะน้ำยาละลายน้ำง่ายกว่า
   3. ใช้ซักผ้าได้ทั้งแบบซักด้วยมือ และซักเครื่อง(จะไม่มีคราบแป้งขาวๆติดผ้า)
   4.
ขจัดคราบสกปรกได้ดี เบาแรงขยี้ ถนอมมือ
   5. ถึงแช่ผ้าทิ้งไว้ค้างคืน น้ำซักผ้าก็ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของแป้ง)
   6. เมื่อผ้าแห้งแล้วจะมีกลิ่นสะอาด ไม่เหม็นอับ
   7. แม้ตากผ้าไว้ในที่ร่ม หรือตากผ้าตอนกลางคืน ก็ไม่มีกลิ่นเหม็น
   8. ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ไม่มีแสงแดด ตากผ้าไว้แล้วไม่แห้งภายในวันเดียวผ้าก็ไม่เหม็นอับ
   9. เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้วจะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าที่ซักทั่วๆไป(น้ำหมักชีวภาพจะช่วยยับยั้งกลิ่นเหม็น)
  10. ถนอมเส้นใยผ้า เสื้อผ้าไม่เก่าเร็ว
  11. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เมื่อนำไปรดต้นไม้จะโตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย
  12. น้ำทิ้งจากการซักผ้า เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า(เพราะไม่มีส่วนผสมของโซดาไฟ,สีสังเคราะห์)
 



ส่วนผสมการทำน้ำยาเอนกประสงค
น้ำยาเอนกประสงค์
            น้ำยาเอนกประสงค์เป็นน้ำยาที่ใช้เอ็นไซม์กับน้ำหมักผลไม้รถเปรี้ยวและ วัสดุทางธรรมชาติ จึงมีประโยชน์ใช้ในการซักล้างและทำความสะอาดได้ หลายอย่าง อาทิเช่น ใช้ล้างจาน,ซักผ้า,ล้างห้องน้ำ ,ล้างรถ ผสมเป็นจับใบ ในการพ่นฮอร์โมนหรือยาแก้ต้นพืชฯลฯ ซึ่งเป็นต้นทุนจะต่ำมากสามารถลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและยังเป็นการ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ส่วนผสม สำหรับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ (20 ลิตร)
1.เอ็น 70 1 กิโลกรัม
2.น้ำเกลือ 5 ลิตร (เกลือ 1.5 กิโลกรัมต้มกับน้ำ 5 ลิตร)
3.น้ำด่างขี้เถ้า 5 ลิตร (ขี้เถ้า 1.5 กิโลกรัม หมักกับน้ำ 10 ลิตรทิ้งไว้ 7 วันขึ้นไปกรองเอาแต่น้ำใส)
4.น้ำเอ็นไซม์ (น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยว) จำนวน 5 ลิตร
วิธีทำ
1.นำเอ็น 70 เทใส่ถังกวนให้เอ็น 70 แตกเป็นสีขุ่นให้ทั่ว
2.ใส่น้ำเกลือค่อยๆ เทลงในถังกวนให้เอ็น 70 จนแตกเป็นฟองค่อยๆ กวนจนน้ำเกลือหมด
3.เมื่อน้ำเกลือละลายเอ็น 70 หมดแล้วแตกเป็นฟองให้เอาน้ำด่างเท ผสมเข้าไปกวนในทิศทางเดียวกันจนแตกฟองหมด
4.ใส่น้ำเอ็นไซม์หรือน้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยวลงไปกวนในทิศทางเดียวกันสังเกตุ ว่าน้ำยา จะข้นขึ้นเรื่อยๆ (เป็นการทำปฏิกิริยาของกรดกับด่าง)กวนไปเรื่อยๆ จนเข้ากัน


                      





                            


                      







อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก